ระบบ Smart farm ที่ พ.ฟามเมล่อนเลือกใช้

จะเป็นระบบ Sensor IOT ที่เกี่ยวข้องกับการเพาะปลูกทั้งหมด ซึ่งมีดังนี้

  FAARM Series: Water FiT

              WATER FiT คือ ระบบให้น้ำสำหรับการเพาะปลูก แบ่งเป็น 2 รุ่นตามลักษณะการใช้งาน ได้แก่ Simple และ Evergreen
              WATER FiT – Simple
                กล่องควบคุมการให้น้ำพื้นฐาน ให้น้ำตามเวลา ความชื้น ทำงานอิสระ ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่
คุณสมบัติ
·       ใช้แบตเตอรี่ 9 โวลต์ อายุการใช้งานมากกว่า 1 ปี
·       ต่อควบคุมวาล์วได้สูงสุด 4 ตัว แยกอิสระต่อกัน
·       สามารถต่อเซ็นเซอร์วัดความชื้นดิน และถังวัดน้ำฝน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้น้ำ (ฝนตกพอ งดให้น้ำ, ดินเปียก รดน้ำน้อย)
·       เชื่อมต่อกับโทรศัพท์ Android Smart Phone ผ่าน Bluetooth เพื่อตั้งช่วงเวลาให้น้ำ
·       ช่วงเวลาการให้น้ำสามารถเลือกทำงานเป็น ทุกวัน วันในสัปดาห์ วันเว้นวันได้
·       สามารถตั้งช่วงเวลาให้น้ำได้มากกว่า 100 ช่วงเวลา
WATER FiT - Evergreen
ระบบควบคุมการให้น้ำแบบแยกส่วนหลายตำแหน่ง ที่มีการทำงานสัมพันธ์ระหว่างตัวควบคุมในพื้นที่และระบบผู้เชี่ยวชาญในอินเทอร์เน็ต เช่น การให้น้ำพืชตามอัตราการคายระเหย
คุณสมบัติ
·       ระบบสั่งการควบคุมการให้น้ำแยกอิสระกับอุปกรณ์ควบคุมวาวล์และอุปกรณ์ควบคุมปั๊มผ่านทาง ระบบสื่อสารแบบไร้สายทำให้ง่ายกับการออกแบบติดตั้งระบบให้น้ำ
·       สามารถทำงานร่วมกับระบบผู้เชียวชาญในอินเทอร์เน็ตเช่นการให้น้ำพืชตามอัตราการคายระเหย
·       ระบบมีความหยืดหยุ่น สามารถใช้งานได้ทั้งในแปลงเกษตรขนาดเล็กจนถึงแปลงเกษตรขนาดใหญ่
·       บันทึกข้อมูลการตรวจวัดผ่านอินเทอร์เน็ต
·       ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลการให้น้ำและข้อมูลการตรวจวัดผ่านอินเทอร์เน็ต ได้ทั้งเว็บเบราว์เซอร์และแอปพลิเคชันบนแอนดรอยด์สมาร์ทโฟน

·       ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดไปวิเคราะห์ปรับปรุงการควบคุมการให้น้ำในรอบถัดไปให้สภาพแวดล้อมในโรงเรือนมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น

            FAARM SENSE


                                สถานีวัดอากาศสำหรับติดตามการเพาะปลูก (WEATHER SENSE)
                     โดยคุณดุสิตา ธรรมสถิตพรได้กล่าวไว้ว่าจะนำจะใช้งานรุ่น Standard สามารถตรวจวัดอุณหภูมิ ความชื้นสัมพันธ์ในอากาศ ปริมาณน้ำฝน ความชื้นของดินและอื่น ๆ ซึ่งยังอยู่ในช่วงดิว

            FAARM FIT

           แบ่งเป็น 2 รุ่นตามลักษณะการควบคุมสภาพแวดล้อม ดังนี้
·       รุ่น Cool สำหรับควบคุมระบบลดอุณหภูมิหรือปรับความชื้นในโรงเรือนให้อยู่ในช่วงที่ต้องการ ด้วยการพ่นหมอก หรือใช้แผ่นระเหยน้ำ จุดเด่นคือ สามารถต่อเซ็นเซอร์ได้หลายประเภทและหลายจุด เช่น อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ความเข้มแสง
·       รุ่น Comfort สำหรับควบคุมระบบปรับสภาพแวดล้อมในโรงเรือนปิดหรือห้องควบคุมบรรยากาศ สามารถควบคุมทั้งอุณหภูมิ ความชื้นและระดับก๊าซ เช่น CO2 เป็นต้น

พ.ฟามเมล่อน

    บทความที่ไปสัมภาษณ์

    จุดเริ่มต้นในการทำ ฟ.ฟามเมล่อนเกิดจากแรงบรรดาลใจที่ได้ไปดูงานจากญี่ปุ่น จะมีพวกผลไม้ขึ้นชื่อประเทศญี่ปุ่นมานำเสนอ ก็คือ เม่ล่อน แล้วพบว่าในประเทศไทยยังไม่ค่อยผลิตเยอะนัก ก็เลยคิดที่จะผลิต
    ในการทำทุกธุรกิจ ฟ.ฟามเมล่อนก็มักจะพบปัญหาเกี่ยวกับพวกโรค แมลงหรือสภาพอากาศบางอย่างที่เราไม่สามารถควบคุมได้ อย่างการแปรรูปปัญหาที่เกิดขึ้นเรื่องของการเป็น r&d
                  โครงสร้างธุรกิจของ พ ฟาร์มหรอในมุมมองของพี่เนี่ยพี่มองธุรกิจของ พ ฟาร์ม มีหลายแบบมากเลยนะเนื่องจากว่าเราทำทั้งขายเอง ทั้งปลีกขายปลีกด้วยอันที่ 2 คือก็คือว่าธุรกิจของพี่เนี่ยเป็นธุรกิจ บีทูซี ก็คือ business to customer พี่ direc หาผู้บริโภคโดยตรงโดยไม่ได้ทำการส่งให้ผู้ใดเนื่องจากทุกวันนี้ที่มี ก็ไม่พอขายแล้ว ดังนั้น โครงสร้างธุรกิจของพี่เนี่ยว่าเราขายแต่ผู้บริโภคโดยตรง

     สมาร์ทฟาร์มเมอร์ให้เข้ามีบทบาทในการช่วยในเรื่องการลดอุณหภูมิในโรงเรือนก็คือเนื่องจากว่าที่เรามีการเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์และเชิง Bata แล้วนนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลซ้ำว่าในหนึ่งปีของเราปัญหาคืออะไรอย่างเช่นปีนี้สามฤดูหน้าหนาวเจอปัญหาอะไรหน้าร้อนเจอปัญหาอะไรหน้าฝนเจอปัญหาอะไรแล้วเสร็จแล้วหลังจากเราวิเคราะห์ข้อมูลได้แล้วเนี่ยเราก็เอามาข้อมูลมาดูแนวทางแก้ปัญหาต่อในหนึ่งปีที่ผ่านมาเจอปัญหาหนักเนื่องจริงๆเลยคือเรื่องของอากาศที่สูงมากคือจริงๆเมลอนไม่ชอบอุณหภูมิประมาณ 25-35 องศาคือร้อนแต่ไม่ร้อนมากถ้าเกิน 40 องศาขึ้นไปจะไม่ได้ละดังนั้นพี่ก็ต้องหาวิธีลดอุณหภูมิในรงเรือนแบบว่าเรื่องขายเรื่องของการทำตลาดคือที่เนี่ยที่เด่นคือในเรื่องของการตลาดเด่นยังต้องบอกว่าทุกคนใช้ Facebook เป็นเครื่องมือในการขาย พ.ฟาร์มยังไม่ใช่นะที่อัตราส่วนการขายผลิตทางการเกษตรผ่านทางหน้า Facebook น้อยมากแต่ต้องใช้คำว่าโปรโมทตัวเองผ่านทาง Facebook มากกว่าโดยที่ คอนเซ็ปต์ของพี่ง่ายมากคือไม่ชอบออกไปขายข้างนอกพี่ว่าเหนื่อยพี่ก็ทำแบบว่าทำลูกค้าเข้ามาหาพี่ทางมาลึกไหมคะมันก็ลึกพอสมควรอยู่ครับใช่ลึกมากแล้วก็คิดว่าทางไม่น่ามีที่เทียวคะดังนั้นโจทย์ของพี่ทำยังไงให้ความล฿กมีลูกค้าเข้ามาหาพี่พี่ก็ดึงอาชีพที่ใหม่ๆที่มันเกิด ณ ตอนนี้ไม่ว่าจะเป็น  Youtubeber  Blogger ทุกคนรู้จักถูกไหมและเป็นอาชีพด้วยถูกไหมเราก็ดึงอาชีพเหลาเนี่ยเข้ามาช่วยเราชงหน่อยใช้คำว่าชงเลยเพราะพี่ชงคนเดียวเปิดขายผ่านหน้าเพจพี่อย่างเดียวก็ไม่มีทางที่ใครจะเข้ามาดูหลอกแต่เราก็ต้องเอาคนที่แบบ Blogger ที่บริการ User ที่มีคนกด likeเพจเขาเยอะๆ ให้เขามาช่วยเรารีวิว เราก็ขายได้เขาก็มี product ไปโชว์ ก็ตอนนี้แฟนเพจ พ.ฟาร์ม 6,500 คน


10 อันดับการประยุกต์ใช้ Internet of Things

ทางด้านเว็บไซต์ IoT Analytics ได้ทำการสำรวจและจัดอันดับ โดยรวบรวมข้อมูลจากแหล่งที่มีผู้ใช้งานบนอินเตอร์เน็ตยอดนิยมหลักๆ 3 แหล่งด้วยกัน ได้แก่ 1) สถิติการค้นหาใน Google 2) การแชร์บน Twitter และ 3) จากการที่มีคนพูดถึงบน Linkedin มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
รูปจาก iot-analytics.com/iot-applications-q2-2015
อันดับที่ 1 Wearables คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สามารถติดตั้งใช้งานบนส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อความสะดวกในการใช้งานเพราะสามารถนำติดตัวไปได้ทุกที่ Wearable Computer สามารถทำงานได้ทั้งในแบบ Stand alone หรือทำงานร่วมกับอุปกรณ์อื่นอย่าง Smartphone ผ่านทางแอพพลิเคชั่น อาทิ เซ็นเซอร์วัดระยะทางของการวิ่ง วัดอัตราการเต้นของหัวใจ วัดอุณหภูมิรอบๆ การบอกพิกัดตำแหน่งบนโลกอุปกรณ์ที่วัดการตรวจจับพฤติกรรมของผู้สวมใส่แล้วแปลงค่าออกมา เช่น พฤติกรรมการนอนหลับ พฤติกรรมการออกกำลังกาย รวมถึงการเก็บข้อมูลของผู้ใช้ เพื่อแปลงผลไปใช้ในการทำข้อมูลสถิติ และการเข้าใจในพฤติกรรมด้านต่างๆ เป็นต้น ส่วนการทำงานเพื่อใช้ในการควบคุมและทำงานร่วมกับอุปกรณ์อย่าง Smartphone เช่น การสั่งให้เล่นเพลงจาก Smartphone การแสดงสถานะของการโทรเข้าโทรออก การแจ้งเตือนเมื่อมีข้อความอีเมล์ Facebook Twitter เข้ามา

รูปจาก thumbsup.in.th/2013/07/wearable-device-trend
Wearable Computer ปัจจุบันมีการพัฒนาออกมาเป็นรูปแบบของ Gadget ต่างๆ มากมาย ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. Watch – Wearable Computer แบบประเภทนาฬิกา
2. Wrist band – Wearable Computer แบบประเภทสายรัดข้อมือ
3. Glass – Wearable Computer แบบประเภทแว่นตา

รูปจาก thumbsup.in.th/2013/07/wearable-device-trend
อันดับที่ 2 Smart city หรือเมืองอัจฉริยะ หมายถึง เมืองที่มีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อทำให้คุณภาพชีวิตของพลเมืองนั้นดีขึ้น ส่งผลให้การใช้ชีวิตนั้นสะดวกสบายพลเมืองสามารถเข้าถึงการบริการของเมืองนั้นได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงระบบรักษาความปลอดภัยที่เพิ่มมากขึ้นด้วย ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน เช่น การจัดการพลังงานไฟฟ้า ระบบจัดการน้ำ จัดการขยะ ระบบตรวจจับและเฝ้าระวังความปลอดภัยจากสิ่งแวดล้อมในสังคม เป็นต้น

รูปจาก www.districtoffuture.eu
อันดับที่ 3 Smart home หรือบ้านอัจฉริยะ เป็นการรวมโครงข่ายการสื่อสาร (Communication Network) ของที่อยู่อาศัยรวมเข้าด้วยกันเพื่อเชื่อมต่อเครื่องใช้ไฟฟ้า การบริการ การตรวจตราดูแล รวมทั้งสามารถเข้าถึงการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ได้ซึ่งการควบคุมอาจควบคุมได้ทั้งจากภายในที่บ้านเองหรือควบคุมจากภายนอกก็ได้ โครงสร้างของ Smart home จะต้องประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ ส่วนแรกต้องมีอุปกรณ์ Smart Device ใช้สำหรับเชื่อมโยงเข้ากับส่วนที่สอง คือ เครือข่าย (Smart home network) และส่วนที่สาม คือ ส่วนควบคุมหลักที่เปรียบเสมือนสมองของบ้าน ซึ่งสามารถเขียนโปรแกรมให้บ้านทำงานตามแบบที่เราต้องการได้ เรียกว่า Intelligent control system เมื่อบ้านดังกล่าวมีองค์ประกอบครบทั้ง 3 ส่วนแล้วจึงจะถือได้ว่าเป็น Smart home
งานวิจัยของ smart home ในปัจจุบันจะเป็นการวิจัยเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน สามารถแบ่งกลุ่มงานวิจัยออกได้เป็น 4 กลุ่ม ตามความต้องการคือ
1. เพื่อความสะดวกสบาย เช่น ประตูอัตโนมัติรีโมทอัจฉริยะ
2. เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นงานวิจัยในการเพิ่มความสามารถให้กับ   กล้องวงจรปิดนอกเหนือจากการบันทึกภาพเพียงอย่างเดียว เช่น เซนเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว และระบบการแจ้งเตือน
3. เพื่อประหยัดพลังงาน เช่น การเปิดปิดไฟอัตโนมัติตามแสงอาทิตย์ หรือปิดไฟอัตโนมัติ เมื่อไม่มีคนอยู่ รวมไปถึงการบริหารจัดการพลังงานในกรณีที่ติดตั้งแผงวงจรโซลาร์เซลล์
4. เพื่อดูแลสุขภาพของผู้อาศัยภายในบ้าน เช่น จะติดตั้งเซนเซอร์ตรวจคลื่นหัวใจ ตรวจจับไฟไหม้โดยส่งสัญญาณ เมื่อเวลาเกิดเหตุการณ์ที่ผิดปกติ
รูปจาก www.witura.com
อันดับที่ 4 Industrial internet เป็น IoT ส าหรับภาคอุตสาหกรรมและโรงงานการผลิต ขณะที่บริษัททางด้านวิจัยทางการตลาด เช่น Gartner หรือบริษัททางด้านเครือข่ายเช่น Cisco ได้มองว่า Industrial internetนี้เป็นสิ่งที่สามารถสร้างโอกาสและความเป็นไปได้มากที่สุดแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม Industrial internet ก็ไม่ใช่สินค้าสำหรับผู้บริโภคทั่วไป อย่างเช่น Smart home หรือ Wearable ที่คนส่วนใหญ่ให้ความสนใจมากกว่า

รูปจาก jkvoltage.com/for-industrial-internet-of-things-success-standardize
อันดับที่ 5 Smart grid หรือโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ เป็นโครงข่ายไฟฟ้าที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาบริหารจัดการควบคุมการผลิต ส่ง และจ่ายพลังงานไฟฟ้า สามารถรองรับการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทางเลือกที่สะอาด (Distributed Energy Resource : DER) และระบบบริหารการใช้สินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งให้บริการกับผู้เชื่อมต่อกับโครงข่ายผ่านมิเตอร์อัจฉริยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความมั่นคงปลอดภัยเชื่อถือได้พร้อมทั้งคุณภาพของไฟฟ้าได้มาตรฐานสากลSmart grid เกิดจากการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้า ระบบสารสนเทศ และระบบสื่อสารเข้าไว้ด้วยกันเป็นโครงข่าย ซึ่งโครงข่ายดังกล่าวจะสนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกันอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่
1. อิเล็กทรอนิกส์และระบบฝังตัว (Electronics and Embedded Systems)
2. ระบบควบคุมอัตโนมัติ (System Control and Automation)
3. สารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication)

รูปจาก powertown.no/
อันดับที่ 6 Connected car เป็นรถยนต์อัจฉริยะที่มีการติดตั้งระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายซึ่งการติดตั้งระบบเครือข่ายดังกล่าวจะช่วยให้รถยนต์สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต และแบ่งปันอินเทอร์เน็ตให้กับอุปกรณ์อื่นๆ ที่อยู่ภายในและภายนอกนอกรถยนต์ได้เทคโนโลยี Connected car เป็นการพัฒนาต่อยอดจากแนวคิดของรถยนต์อัจฉริยะซึ่งมีการติดตั้งเทคโนโลยีพิเศษอันเป็นประโยชน์ต่อผู้ขับรถ ทั้งในด้านความปลอดภัยและความสะดวกสบาย โดยมีการเพิ่มเติมในเรื่องของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ส่งผลให้รถยนต์สามารถติดต่อสื่อสารกับสิ่งอื่นๆ ได้เองอัตโนมัติ อย่างไรก็ตาม Connected car ก็ยังมีการปรับตัวที่ช้ากว่ารูปแบบอื่นเนื่องจากวงรอบในการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์จะต้องใช้เวลาประมาณ 2 - 4 ปี ท าให้มีการพูดถึงในเรื่องนี้ยังมีไม่มากนัก ในส่วนของ BMW และ Ford ก็ยังไม่ได้ประกาศออกมาเป็นรูปร่างมากนัก ถึงแม้ทาง Google, Microsoft และ Apple ได้ประกาศเปิดตัวฟอร์มสำหรับ Connected car ไปกันบ้างแล้ว

รูปจาก www.wired.com
อันดับ 7 Connected health เป็นแนวคิดการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงชุมชนเข้ากับระบบสุขภาพแบบครบวงจร โดยเชื่อมโยงบริการทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการบริการสุขภาพตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงผู้รับบริการปลายทางเข้าไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นสถานพยาบาลทั้งในเมืองและในพื้นที่ห่างไกล ผู้ป่วย แพทย์ ร้านขายยาสถาบันวิจัย หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง บริษัทประกัน ไปจนถึงลูกจ้าง พนักงาน และบ้านเรือนระบบ Connected health นี้จะช่วยให้โรงพยาบาลขยายขอบเขตการประสานความร่วมมือกันได้อย่างครอบคลุม ทำให้ลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน ช่วยพัฒนาการให้บริการควบคู่ไปกับการควบคุมค่าใช้จ่ายนอกจากนี้ยังช่วยเชื่อมโยงบุคลากรทางการแพทย์ถึงกัน และเชื่อมโยงแพทย์เข้ากับข้อมูลสำคัญต่างๆ ช่วยให้แพทย์สามารถหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดและให้คำแนะนำผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันก็ช่วยให้ผู้ป่วยมีบทบาทในการตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือดูแลสุขภาพตัวเองมากขึ้นแนวคิดของระบบ Connected health, Digital health หรือ Smart medical ยังไม่ได้เป็นที่แพร่หลายมากนักซึ่งทางผู้พัฒนาก็ได้ปล่อยตัวระบบและอุปกรณ์มาให้ใช้งานบ้างแล้ว เช่น CellScope หรือSwaive สำหรับในประเทศไทยทางโรงพยาบาลสมิติเวชและบีเอ็นเอช ในเครือโรงพยาบาลกรุงเทพฯ ได้ร่วมมือกันคิดค้นแอพพลิเคชั่นชื่อว่า Samitivej Connect by TrueMove H และ BNH Connect by TrueMove Hเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสื่อสารกับโรงพยาบาลได้ทันท่วงทีโดยมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นตารางการนัดแพทย์ การส่งรถพยาบาลมาเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ปรึกษาปัญหาสุขภาพทั่วไป เสมือนได้รับการดูแลจากโรงพยาบาลตลอดเวลาในแบบที่เป็นส่วนตัว ถือว่าเป็นมิติใหม่ของการให้บริการทางการแพทย์ในยุคดิจิตอล โดยนำเทคโนโลยีทางด้านไอทีมาเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลเพื่อให้บริการแบบไร้ข้อจำกัด

รูปจาก www.electronics-eetimes.com
อันดับ 8 Smart farming หรือฟาร์มอัจฉริยะ คือ การนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาผสมผสานเข้ากับงานด้านการเกษตรเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้กับเกษตรกร เทคโนโลยีฟาร์มอัจฉริยะนั้นตั้งอยู่บนแนวคิดของการทำเกษตรสมัยใหม่ที่เรียกว่า เกษตรแม่นยำสูง เป็นกลยุทธ์ในการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยทำให้เกษตรกรสามารถปรับการใช้ทรัพยากรให้สอดคล้องกับสภาพของพื้นที่มากที่สุด รวมไปถึงเรื่องการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแนวคิดนี้สามารถนำไปปรับใช้ได้ทั้งฟาร์มพืชและสัตว์ ฟาร์มอัจฉริยะนี้จะมีความแตกต่างกับฟาร์มธรรมดาอยู่ตรงที่ การใช้ทรัพยากรนั้นทำได้อย่างแม่นยำและตรงต่อความต้องการของพืชและสัตว์ซึ่งช่วยลดการสูญเสียทรัพยากรและได้ผลผลิตที่ออกมาตรงตามความต้องการของผู้ดูแลมากที่สุด

รูปจาก www.ragusanews.com
อันดับที่9 Smart retail เป็นการนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยเพิ่มโอกาสในการดำเนินธุรกิจห้างร้านได้เป็นอย่างดีด้วยการเพิ่มประสบการณ์ที่ดีสำหรับลูกค้าในการซื้อสินค้า โดยส่งข้อมูลสินค้าไปยังอุปกรณ์ Smart Phone ของลูกค้าส่งผลให้ธุรกิจห้างร้านมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น แต่ในตอนนี้ระบบดังกล่าวยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นใช้งานซึ่งยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก เพราะยังมีการใช้งานกับสินค้าเฉพาะกลุ่ม จึงต้องดูกันต่อไปว่าในอนาคตจะมีแนวโน้มพัฒนาไปในทิศทางใด

รูปจาก www.slideshare.net
อันดับที่ 10 Smart Supply Chain หรือการจัดการห่วงโซ่อุปทาน หมายถึง การจัดการในส่วนของกระบวนการที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ผลิตกับผู้ขายวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เพื่อช่วยลดต้นทุนในการผลิตอันนำไปสู่การเพิ่มผลกำไรของกิจการได้ในที่สุด โดยกระบวนการจะเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการจัดซื้อ (Procurement) การผลิต (Manufacturing) การจัดเก็บ (Storage) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) การจัดจำหน่าย (Distribution) ตลอดจนการขนส่ง (Transportation) ซึ่งมีผลสำคัญต่อการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้านอกจากนี้ Smart Supply Chain ไม่ได้ครอบคลุมเฉพาะหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์กรเท่านั้น แต่ที่สำคัญจะสร้างความสัมพันธ์เชื่อมต่อกับองค์กรอื่นๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ผู้จัดหาวัตถุดิบ/สินค้า (Suppliers) บริษัทผู้ผลิต (Manufactures) บริษัทผู้จำหน่าย (Distribution) รวมถึงลูกค้าของบริษัท จึงเป็นการเชื่อมโยงกระบวนการดำเนินธุรกิจทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้องด้วยกันเป็นห่วงโซ่หรือเครือข่ายให้เกิดการประสานงานกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในกระบวนการต่างๆ นั้นจะมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือ ทำให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น


Internet of Things

Internet of Things


                                IOT : Internet of Things หรือ อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่งหมายถึง การที่สิ่งต่างๆ ถูกเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างสู่โลกอินเตอร์เน็ต ทำให้มนุษย์สามารถสั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น การเปิด-ปิด อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องมือสื่อสาร เครื่องมือทางการเกษตร อาคาร บ้านเรือน เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นต้น

                                เทคโนโลยี IOT มีความจำเป็นต้องทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประเภท RFID และ Sensors ซึ่งเปรียบเสมือนการเติมสมองให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ที่ขาดไม่คือการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เพื่อให้อุปกรณ์สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ เทคโนโลยี IOT มีประโยชน์ในหลายด้าน แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยง เพราะหากระบบรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไม่ดีพอ ก็อาจทำให้มีผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาขโมยข้อมูลหรือละเมิดความเป็นส่วนตัวของเราได้ ดังนั้นการพัฒนา IOT จึงจำเป็นต้องพัฒนามาตรการและระบบรักษาความปลอดภัยไอทีควบคู่กันไปด้วย

ไฟร์วอลล์

ไฟร์วอลล์
                                                        
·       เป็นระบบที่เอาไว้ป้องกันอันตรายจากอินเทอร์เน็ตหรือเครือข่ายภายนอก ไฟร์วอลล์ เป็นส่วนประกอบ (ComPonent) หรือกลุ่มของส่วนประกอบที่ทำหน้าที่ในการควบคุการเข้าถึงระหว่างเครือข่ายภายนอกกับ เครือข่ายภายในที่ต้องการจะป้องกัน โดยที่ส่วนประกอบนั้นอาจจะเป็นอุปกรณ์จัดเส้นทาง(Router) คอมพิวเตอร์ หรือเครือข่าย ประกอบกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับวีการหรือสถาปัตยกรรมไฟร์วอลล์นั้น สามารถทำได้ในหลายระดับและหลายรูปแบบขึ้นอยู่ชนิดหรือเทคโนโลยีของไฟร์วอลล์ที่นำมาใช้ เช่น สามารถกำหนดได้ว่าจะให้มีการเข้ามาใช้บริการ อะไรได้บ้าง จากที่ไหน
·       บังคับใช้นโยบายด้านความปลอดภัย โดยการกำหนดกฎให้กับไฟร์วอลล์ว่าจะอนุญาตหรือไม่ให้ใช้เซอร์วิสชนิดใด
·       ทำให้การพิจารณาดูแลและกการตัดสินใจด้านความปลอดภัยของระบบเป็นไปได้ง่ายขึ้น เนื่องจากการติดต่อทุกชนิดกับเครือข่ายภายนอกจะต้องผ่านไฟร์วอลล์ การดูแลที่จุดนี้เป็นการดูแลความปลอดภัยในระดับของเครือข่าย(Network-Based Security)
·       บันทึกข้อมูล กิจกรรมต่างๆที่ผ่านเข้าออกเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
·       ป้องกันเครือข่ายบางส่วนจากการเข้าถึงของเครือข่ายภายนอก เช่น หากมีบางส่วนที่ต้องการให้ภายนอกเข้ามาใช้เซอร์วิส (เช่นถ้ามีเว็บเซิร์ฟเวอร์) แต่ส่วนที่เหลือไม่ต้องการให้ภายนอกเข้ามากรณีเช่นนี้สามารถใช้ไฟร์วอลล์ช่วยได้

·       ไฟร์วอลล์บางชนิดสามารถป้องกันไวรัสได้ โดยจะทำการตรวจไฟล์ที่โอนย้ายผ่านทางโพรโตคอล เอชทีพี (HTTP) เอฟทีพี (FTP) เอสเอ็มทีพี (SMTP)

เอกซ์ทราเน็ต



                       เป็นอินทราเน็ตที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายทั่วโลกด้วยสายโทรศัพท์หรือวงจรเช่าต่างๆแต่ทำงานด้วยมาตรฐานกลางทีซีพีไอพี(TCP/IP) เช่นเดียวกับอินเทอร์เน็ตหรือสามารถกล่าวได้ว่าเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีความปลอดภัยสูง
                       จากระบบอินทราเน็ตที่จำกัดขอบเขตการทำงานอยู่ภายในองค์กรแต่ละองค์ก็มีความพยายามที่จะขยายขอบเขตการใช้งานให้กว้างขวางขึ้น เป็นระบบเอกซ์ทราเน็ต ตัวอย่างเช่น บริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวเนื่องกันจะถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารได้สะดวก ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรก็จะเป็นไปอย่างราบรื่น มีความรวดเร็วต่อเนื่อง

                    1.เอกซ์ทราเน็ตใช้มาตรฐานเดียวกับอินเทอร์เน็ต คือใช้โพรโตคอลทีซีพีไอพี
                         2.เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันระหว่างบริษัท ลูกค้า และบริษัทอื่นๆที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน
                         3.มีลักษณะคล้ายกับอินเทอร์เน็ตที่มีการเปิดออกสู่โลกภายนอกมากขึ้น คล้ายกับอินเทอร์เน็ตมีผู้ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งจะสามารถมองว่าเป็นอินเทอร์เน็ตที่มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีขึ้นก็ได้

                         การเชื่อมโยงธุรกิจหรือองค์กรที่มีโครงสร้างและระบบการทำงานที่ต่างกัน เป็นสิ่งท้าทายสำรับการนำระบบเครือข่ายมาใช้ สิ่งสำคัญไม่ได้ขึ้นอยู่กับชนิดของธุรกิจหรือจำนวนขององคกรที่เข้าร่วม แต่มีปัจจัยอื่น ที่จำเป็นสำหรับการเชื่อมโยงองค์กรเหล่านั้นเข้าด้วยกัน ดังนี้
·       องค์กรและบุคคลที่จะมารวมอยู่ในระบบเดียวกันได้ จะต้องใช้มาตรฐานเดียวกัน เช่น ระบบเวิลด์ไวด์เว็บ
·       ระบบใหม่จะต้องช่วยส่งเสริมกิจกรรมขององค์กรทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง เช่น ช่วยลดเวลาที่ใช้ในกระบวนการตรวจสอบสินค้า การติดต่อสั่งซื้อสินค้า ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการสำรองสินค้าคงคลังได้ การทำให้กิจกรรมที่แต่ละองค์กรทำอยู่ดำเนินไปได้ด้วยดี ถือว่าเป็นความสำเร็จของระบบเอกซ์ทราเน็ต
·       นอกจากจะรักษาสถานะภาพเดิมขององค์กรไว้ได้แล้ว ระบบจะต้องสามารถรับรองความเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้โดยไม่จำเป็นต้องทิ้งระบบเก่าทั้งหมด แต่นำสิ่งใหม่ๆ เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบสื่อสารมารวมเข้ากับระบบเดิม
·       ความสำเร็จของระบบจะขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ซอฟต์แวร์ด้วย โดยจะต้องใช้ซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถพอที่จะสามารถใช้งานได้จริง ไม่ใช่โปรแกรมทดลองหรือโปรแกรมที่เขียนโดนมือสมัครเล่น และที่สำคัญต้องรองรับการขยายตัวของระบบได้ ซึ่งในขณะนี้ก็มีบริษัทหลายแห่งเริ่มสร้างซอตฟ์แวร์สำหรับช่วยให้การดูแลระบบทำได้ง่ายขึ้น

ระบบเครื่องมือของระบบอินทราเน็ตสำหรับองค์กร

·       ระบบการอนุมัติการทำงาน ระบบการอนุมัติใบลา ขาด มาทำงานสายของพนักงานพร้อมทั้งรูปแบบการแสดงผลรายงาน ประจำวัน/เดือน/ปี ให้ท่านทราบ รวมถึงระบบรายงานการประเมินผลของพนักงาน
·       ระบบบริหารงานสั่งซื้อ การเปรียบเทียบข้อมูลของสินค้า ราคา และคู่ค้าก่อนการสั่งซื้อ
·       ระบบบริหารงานการใช้ห้องประชุม โปรแกรมจองห้องประชุม การใช้อุปกรณ์ห้องสัมมนา
·       ระบบปฎิทินกิจกรรมรวมของบริษัท หรือแยกระบบปฏิทินกิจกรรมของแต่ละแผนกหรือฝ่ายตามต้องการ ข้อมูลส่วนตัวของพนักงานในระบบ หารสร้างระบบปฎิทินส่วนตัว ระบบการเตือนงาน การจ่ายงานไปยังบุคคลหรือแผนกที่เกี่ยวข้อง หรือจากหัวหน้างานสู่พนักงานในแผนกหรือฝ่าย
·     ระบบบริการเอกสารส่วนกลาง ซึ่งจะรอบรับการเข้ามาขอใช้บริการของพนักงานแต่ละคน แต่ละแผนก
·       การให้บริการด้านข่าวสาร การประชาสัมพันธ์ผ่านทางระบบอินทราเน็ตการออกแบบระบบจดหมายเวียน เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารให้ทราบโดยทั่วถึงกันทั้งบริษัท หรือเฉพาะกลุ่มหรือฝ่ายที่ต้องการ

·       ความสามารถในการปรับเปลี่ยนรหัสผ่านของผู้ใช้เอง การกำหนดกิจกรรมการวางแผนงานส่วนตัว ระบบการบันทึกกิจกรรม ระบบการฝากข้อความแบบสั้น หรือรายละเอียดงาน

อินทราเน็ต



                เป็นระบบเครือข่ายภายในองค์กร เป็นบริการและการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหมือนกัน อินเตอร์เน็ตแต่จะเปิดให้ใช้เฉพาะสมาชิกในองค์กรเท่านั้น ชเน อินทราเน็ตของธนาคารแต่ละแห่ง หรือระบบเครือข่ายกระทรวงมหาดไทย ที่เชื่อมศาลากลางทั่วประเทศ เปนต้น เป็นการสร้างระบบบริการข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเปิดบริการคล้ายกับอินเทอร์เน็ตเกือบทุกอย่าง แต่ยอมให้เข้าถึงได้เฉพาะคนในองค์กรเท่านั้น เป็นการจำกัดขอบเขตการใช้งานกล่าวได้ว่าการใช้งานอินทราเน็ต ก็คือ การใช้งานของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโดยจำกัดขอบเขตการใช้งาน ส่วนใหญ่อยู่เฉพาะภายในเครือข่ายของหน่วยงานเท่านั้น และนอกจากนี้ระบบ อินทราเน็ตยังสามารถเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้เช่นกัน ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานอินทราเน็ตสามารถใช้ทั้งอินทราเน็ตและอินเทอร์เน็ตไปพร้อมๆกันได้

อินเทอร์เน็ต



                  เป็นเครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายขนาดเล็กมากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวทั้งโลก หรือเครือข่ายสื่อสารซึ่งเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย มีการเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย